• พฤหัส. ธ.ค. 12th, 2024

กรมทรัพยากรธรณี จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ภายใต้ชื่องาน “ไดโนพาเลาะ ครั้งที่ 6 ท่องเที่ยว สร้างสรรค์ เบิ่งวัฒนธรรม มรดกธรณี”

พิพิธภัณฑ์สิรินธร สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 กรมทรัพยากรธรณี จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม การเผยแพร่ความรู้แหล่งมรดกธรณีถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม ภูผาผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายใต้ชื่องาน “ไดโนพาเลาะ ครั้งที่ 6 ท่องเที่ยว สร้างสรรค์ เบิ่งวัฒนธรรม มรดกธรณี” ระหว่างวันที่ 4 – 8 ธันวาคม 2567 ณ พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี นายสุเมธ สายทอง รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีเปิด นางสาวพรเพ็ญ จันทสิทธิ์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิรินธร เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน และนางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นางสาวสายพิรุณ เพิ่มพูล ที่ปรึกษาอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์ นายสิทธิชัย อินทุประภา รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น นายคมฤต สามเพชรเจริญ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูศรีฐาน นายอุทัย สิงห์ทองพัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ นางนภัสสร พระยาลอ วัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ดร.วัชรพงศ์ ชาวสามทอง นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ นายนายอดุลย์ ลาดเหลา ปลัดอำเภอสมเด็จ นายวิษณุกร ใจคุ้มเก่า พัฒนาการอำเภอกุฉินารายณ์ นางสาวชมพิศ ปิ่นเมือง ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวสหัสขันธ์ นายประเสริฐ ดุลนีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอสหัสขันธ์ นายบรรทม ซะสันติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่ นายมานพ สนธิรักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองห้าง นางสาวกาญจน์ภัทร วฤนท์ธิยานันท์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาไคร้ นายเชาวศักดิ์ แสนพยุห์ ผู้แทนจากวนอุทยานภูแฝก และตัวแทนส่วนราชการ ประชาชนในพื้นที่อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ 7 อำเภอ ให้เกียรติร่วมงาน

นายสุเมธ สายทอง รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณี มีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมแหล่งมรดกธรณี ที่สำคัญของประเทศไทย รวมทั้ง แหล่งมรดกธรณี ถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม ภูผาผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ แหล่งมรดกธรณีผาแดง อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ได้รับการพัฒนา ยกระดับ อนุรักษ์ และมีการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ ในอนาคต รวมถึงการผลักดันให้อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระดับท้องถิ่น ยกระดับสู่การเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศ และระดับยูเนสโก ต่อไป

นอกจากนี้ กรมทรัพยากรธรณี มีความยินดีให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงการสร้างการรับรู้ และตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของแหล่งมรดกธรณี ให้กับเยาวชน ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยมีพิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นศูนย์กลาง

นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ มีมรดกอันล้ำค่า ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะแหล่งมรดกธรณี ภูผาผึ้ง ถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม อำเภอกุฉินารายณ์ แหล่งมรดกธรณีผาแดง บนยอดเขาภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ธรรรมชาติวิทยา ที่มีสวยงาม ซึ่งจังหวัดกาฬสินธุ์ และกรมทรัพยากรธรณี จะมีการทำงานบูรณาการร่วมกัน ในการพัฒนา ผลักดันให้แหล่งมรดกธรณีภูผาผึ้ง และผาแดง รวมทั้งแหล่งมรดกธรณีอื่น ในพื้นที่อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และเป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดกาฬสินธุ์เอง และนักท่องเที่ยวทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประชาชน อย่างยั่งยืน ต่อไป

นางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าว่า ขอบเขตพื้นที่อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 7 อำเภอ คือ อำเภอสหัสขันธ์ คำม่วง สมเด็จ ห้วยผึ้ง นาคู กุฉินารายณ์ และ อำเภอเขาวง ในแต่ละอำเภอมีความโดดเด่น ครบทั้ง 3 มรดกที่สำคัญ ทั้งด้านธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา และทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมสนับสนุน และผลักดัน ให้อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ ยกระดับสู่อุทยานธรณีระดับประเทศ และระดับยูเนสโก โดยทุกภาคส่วน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ต้องให้ความสำคัญ และร่วมมือกัน เพราะหัวใจหลักของอุทยานธรณี คือประชาชน ดังคำที่ว่า“GEOPARK IS PEOPLE” นั่นเอง

ด้าน ดร.วัชพงศ์ ชาวสามทอง นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ฝากประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเข้าร่วมงาน “ฮักข้ามสะพาน สมรสรักเท่าเทียม” ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 ก.พ. 2568 ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน และเป็นประเทศที่ 3 ในทวีปเอเชีย ที่ประกาศรับรองการสมรสเท่าเทียม จึงขอเชิญชวนวันที่ 14 ก.พ. 2568 ที่ทางจังหวัดกาฬสินธุ์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันจัดขึ้น นอกจากคู่สมรสจะได้เที่ยวชมธรรมชาติอันสวยงามในเขื่อนลำปาวแล้ว ยังจะมีการปล่อยพันธุ์ปลาพันธุ์กุ้งก้ามกราม ได้ลิ้มรสอาหารพื้นถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ และไฮไลท์สำคัญ คือคู่สมรสจะได้เข้ากราบนมัสการหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ซึ่งตอนนี้เป็นพระเกจิชื่อดังที่สุดของไทย โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่เพจ “สมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์”

สำหรับโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม การเผยแพร่ความรู้แหล่งมรดกธรณีถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม ภูผาผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายใต้ชื่องาน “ไดโนพาเลาะ ครั้งที่ 6 ท่องเที่ยว สร้างสรรค์ เบิ่งวัฒนธรรม มรดกธรณี” ประกอบไปด้วย 1.นิทรรศการให้ความรู้เรื่องแหล่งมรดกธรณีสำคัญในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2.นิทรรศการสร้างการรับรู้อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ 3.กิจกรรม workshop สาธิตผลิตภัณฑ์งานฝีมือจากชุมชนจีโอพาร์ค 4.การแสดงศิลปะวัฒนธรรมพื้นถิ่นวัฒนธรรมภูไท 5.บูธจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของดีของเด่น 7 อำเภออุทยานธรณีกาฬสินธุ์ 6.กิจกรรมรถรางพาเลาะ เที่ยวอำเภอสหัสขันธ์ 7.ทริปเลาะเส้นทางมรดกธรณี “เบิ่งตีน แลหินประหลาด ชมวิถีผู้ไท” โดยโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม การเผยแพร่ความรู้แหล่งมรดกธรณีถ้ำฝ่ามือแดง สะพานหิน ลานหินปุ่ม ภูผาผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายใต้ชื่องาน “ไดโนพาเลาะ ครั้งที่ 6 ท่องเที่ยว สร้างสรรค์ เบิ่งวัฒนธรรม มรดกธรณี”จัดระหว่างวันที่ 4 – 8 ธันวาคม 2567 ณ พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยคาดว่ามีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 5,000 คน

คิวสัมภาษณ์
1. นายสุเมธ สายทอง รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี (เสื้อสีขาว)
2. นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ (เสื้อสีม่วง)
3. นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์ (เสื้อสีเหลือง)
4. ดร.วัชรพงศ์ ชาวสามทอง นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ (เสื้อสีเหลืองสวมแว่น)

ตระกูล ภูพวงเพชร /รายงาน
www.kalasinnews.com