• ศุกร์. พ.ย. 22nd, 2024

AIS ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดกิจกรรม ปักหมุดจุดทิ้งขยะ E-Waste ชวนบุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน กับ แพลตฟอร์ม E-Waste +

AIS เดินหน้านำ แพลตฟอร์ม E-Waste + ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มุ่งสร้างความมีส่วนร่วมจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรม ปักหมุดจุดทิ้งขยะ E-Waste ชวนบุคลากรและนักศึกษา มาทิ้ง E-Waste กว่า 30 จุด ในเขตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

นายสมชาย นาคราช หัวหน้าแผนกงานปฏิบัติการด้านเทคนิค-ภาคะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า “ AIS นอกเหนือจากการมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น เรายังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และในปี 2566 นี้ AIS ก้าวเข้าสู่การเป็น Cognitive Tech-co องค์กรอัจฉริยะ จึงได้ยกระดับระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ สู่การเปิดตัว “แอปพลิเคชัน E-waste+” เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เพื่อสร้างความมั่นใจในระบบการจัดการขยะที่สามารถติดตาม แสดงผลอย่างเรียลไทม์ และส่งเสริมสร้างแรงจูงใจกับผู้ทิ้งขยะ ได้รับ Carbon Score อีกด้วย และในครั้งนี้ AIS จับมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ (Green Partnership) ในโครงการคนไทยไร้ E-Waste  ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ที่จะมาผนึกกำลังขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนร่วมกันในครั้งนี้

ด้าน ผศ.ดร.อัจฉราวรรณ บุรีภักดี รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า “ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ตามประกาศเจตนารมณ์เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SUT SDGs) 10 เป้าหมายของสหประชาชาติ  และได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของประเทศ ด้านการจัดการของเสีย (Waste) และเป็นอันดับที่ 3 ของมหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลกปี ค.ศ. 2022 หรือ                     UI GreenMetric World University Ranking 2022 และเป็นอันดับที่ 61 ของโลก ร่วมกับมหาวิทยาลัย 8 แห่ง จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก 1,050 แห่ง นั้น กิจกรรมปักหมุด จุดทิ้งขยะ E-Waste ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 12 ด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และส่งเสริมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลกของมหาวิทยาลัยให้มีอันดับที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือกับเอกชนในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการขยะ ผ่าน application E-Wasteได้อย่างมีประสิทธิภาพ     ทำให้สามารถติดตามเส้นทางเดินของขยะ E-Waste จากต้นทางถึงปลายทาง ตลอดจนสามารถ นำผล Carbon Score ที่ได้รับจากการทิ้งขยะ E-Waste ไปแลกคะแนนจิตอาสากับงานทุน  ส่วนกิจการนักศึกษาได้ ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ทิ้ง และเกิดความยั่งยืนต่อไป

และสำหรับองค์กรใดสนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: aissustainability@ais.co.th หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://ewastethailand.com/ewasteplus