วันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา เมืองบัวการ์เด้นท์ ได้รับเกียรติจากนายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายเรืองศักดิ์ รัตนโภคาสถิต ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด นายพงศ์พิตร์ ฤทธิแสง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง ที่ปรึกษา คบจ.ร้อยเอ็ด นางวิชิดา เลิศพุทธิพงศ์พร คลังจังหวัดร้อยเอ็ด ประธาน คบจ.ร้อยเอ็ด และ คบจ.ร้อยเอ็ด จัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ คบจ.ร้อยเอ็ด เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ฝ่าวิกฤติโควิด-19 แบบบูรณาการประจำเดือนกรกฎาคม 2565 โดยใช้ห้องประชุมเมืองบัวการ์เด้นท์จัดการประชุม และรับประทานอาหารกลางวันในรูปแบบ “พาสวยเฮือนบัวคำ” โดยมีนางสาวชนิตา พัชรกุลสุข ประธานบริษัทเมืองบัวซิตี้ การ์เด้น และเชฟคำนาง แห่งเฮือนคำนางให้การต้อนรับ ในโอกาสเปิดกิจการครบรอบ 3 ปีในครั้งนี้ด้วย
นายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดกล่าวว่า ต้องขอขอบคุณคุณชนิตา เจ้าของเมืองบัวการ์เด้นท์ที่ให้การต้อนรับ คบจ.ร้อยเอ็ด ในการประชุมสัญจรครั้งที่ 8/2565 ในครั้งนี้ ถือว่าประทับใจมาก ๆ ทั้งสถานที่และเมนูอาหารพื้นบ้านที่เอร็ดอร่อย หารับประทานได้ยาก ที่คุณชนิตามีความตั้งใจที่จะให้ทุกท่านที่มาในวันนี้ได้ชิมเมนูอาหารพิเศษที่เป็นอาหารอีสาน เพราะอาหารอีสานเรานี้มีความแซบ เผ็ด นัว มีทุกรสชาต ไม่ว่าจะเป็น เมี่ยงกลีบบัว น้ำอ้อย ปลาช่อนเผา ซุปหน่อไม้ หลามข้อไก่ เสริฟในพาข้าว ซึ่งคิดว่าต้องถูกปากทุกท่านที่ได้รับประทานแน่นอน หวังเป็นอยากยิ่งว่าทุกท่านจะได้กลับมาเยี่ยมเยียนเมืองบัวการ์เด้นท์อีกในภายภาคหน้า จึงขอให้กิจการของเมืองบัวการ์เด้นท์มีความก้าวหน้า เจริญรุ่งเรือง ร่ำๆ รวยๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป
นางสาวชนิตา พัชรกุลสุข ประธานบริษัทเมืองบัวซิตี้ การ์เด้น กล่าวว่า ตนเองได้เดินทางไปทำธุรกิจที่ต่างประเทศ คือสวิสเซอร์แลนด์กว่า 20 ปี เก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่าง ๆ มาอย่างเต็มที่จึงหวนกลับมาพัฒนาแผ่นดินบ้านเกิด ลงทุนไปกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเนรมิตทุ่งนาให้กลายเป็นโอเอซิสของจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสร้างรายได้และเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายสินค้าให้คนในชุมชน ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันดีวันมงคลยิ่ง ในโอกาสเปิดกิจการครบรอบ 3 ปี จึงได้ทำบุญถวายภัตตาหารพระสงฆ์ 9 รูป เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยเมืองบัวการ์เด้นท์ เปิดทุกวัน สถานที่ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติของ อำเภอเกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ที่ทุกคนต้องมาให้ได้ มาที่นี่คุณลูกค้าจะได้ พบกับไดโนเสาร์เดินได้ขยับได้ที่เดียวในร้อยเอ็ด พร้อมชมสวนดอกไม้ รูปปั้นสไตล์โรมัน ชมธรรมชาติ บรรยากาศดี ๆ กลางทุ่ง มีร้านกาแฟ มีเมนูอาหารอร่อย ๆ ให้เลือกชิมหลากหลายเมนู มีบริการห้องพักไว้บริการ มีสวนไดโนเสาร์ บึงน้ำให้ปั่นเรือเป็ด มีสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าให้ขี่ชมรอบสวน ให้คุณลูกค้ามาเที่ยวหรือ น้อง ๆ หนู ๆ ขับเล่น มีต้นซากุระจำลอง พร้อมชุดประจำชาติต่าง ๆ 10 ประเทศอาเซียนให้เช่าใส่ถ่ายรูป นั่งชิล ๆ ชมสวนดอกไม้ พร้อมกับมุมถ่ายรูปสวย ๆ ไว้อวดเพื่อนเยอะมาก ๆ และทางร้านยังรับจัดงานเลี้ยง มีห้องประชุมสัมมนาไว้คอยบริการลูกค้ากลุ่มใหญ่อีกด้วย
ด้านคุณณัฎฐภรณ์ คมจิต หรือเชฟคำนาง แห่งเฮือนคำนาง กล่าวว่า วันนี้เฮือนคำนางมีโอกาสได้จัดพาต้อนฮับในโอกาสคำนางเยือนร้อยเอ็ด เฮือนคำนางเยือนถิ่นใดต้องออกสำรวจพื้นที่ต้นธารอาหารของบ้านนั้นเมืองนั้น เรามีความสุขมากเสมอที่ได้นำวัตถุดิบพื้นถิ่นเหล่านั้น กลับมาสร้างความพิเศษให้พาข้าวชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาอีสานบ้านเฮาเข้าไปบริหารจัดการแล้วส่งต่อความพิเศษนั้นให้กับแขกเหรื่อของพื้นที่ เพราะพันธกิจหลักของเฮือนคำนางคือ ทำให้คนใน ‘รู้รัก’ความเป็นอีสาน และทำให้คนนอก ‘รู้จัก’ อีสาน ผ่านการบอกฮักด้วยพาข้าว ซึ่งวันนี้มีเมนูเวลคัมดริ้งต้อนรับทุกท่านด้วยน้ำเกสรดอกบัว ของดีชุมชนเมืองบัว ส่วนเมนูในพาข้าวสุดพิเศษประกอบด้วย ข้าวทุ่งกุลา 5 สายพันธุ์ เสริฟในใบบัว ก้อยกุ้งมะกอกสุก ข้าวเหนียวฮางไฟ ผักพื้นถิ่น อ่อมน่องไก่ประดู่หางดำ ชามฟักทองเมืองสรวง ข้าวทับทิมชุมแพ ปิ้งปลาหลด ส้มปลาสร้อย ข้าวลืมผัว แกงบุษบา 5 ดำ ข้าวหอมดอกมะลิ 105 GI ทุ่งกุลา เมี่ยงกลีบบัว น้ำอ้อย ปลาช่อนเผา ซุปหน่อไม้ หลามข้อไก่ มีสาโท เหล้าหมัก เสริฟเป็นเครื่องดื่ม ปิดท้ายด้วยพาหวานเมนูพุดดิ้งหมาน้อย ซอสครีมข้าวหอมมะลิ
พาข้าวคือทุกสิ่ง คือที่ที่ผู้คนจะเห็นหัตถกรรม ศิลปกรรม พืชพันธุ์ เนื้อสัตว์ เครื่องปรุง เพราะทุกสิ่งคือความรัก คือศรัทธา คือความยินดีปรีดา คือภูมิปัญญา คือวิถี และคือชีวิตของหมู่เฮาชาวอีสาน
ตำบลเมืองบัว อ.เกษตรวิสัยเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่ ที่ถูกขนานนามว่า ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ในอดีตนั้นเล่าขานกันว่า แห้งแล้งและกันดารที่สุด แต่ในความแห้งแล้งและกันดารนั้นกลับสร้างความมหัศจรรย์ให้กับพืชพันธุ์เป็นอย่างมาก เพราะผืนดินที่เป็น’ดินเอียด’ เพราะมีเกลือปนอยู่มากนั้น ส่งผลให้พืชผักมีความเข้มข้น เช่นข้าวหอมมะลิที่นี่หอมเข้มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ข้าวหอมดอกมะลิ105 จึงกลายเป็นพืชที่บ่งชี้ภูมิศาสตร์ (GI) และเลื่องลือไปทั่วโลก
นอกจากนั้น ความเข้มข้นของพืชพันธุ์ยังส่งผลมาที่ปศุสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์ในแผ่นดินทุ่งกุลา จึงเป็นเอกอัตลักษณ์มากนั้น ทั้งกุ้งหอยปูปลาเป็ดไก่กระทั้งโคขุนของที่นี่ รสล้ำมากๆ ผู้คนบนโลกควรได้ลิ้มลองสักครั้ง
วัตถุดิบในวันนั้นเราได้ เห็ดปลวกตาบ เห็ดเผิ่งเห็ดก่อเห็ดไคจากโคกเมืองบัว ได้กุ้งฝอยหอยซิว ปลาหลดปลาไหลปลาเข็งจากลำเสียวใหญ่ ได้เป็ดไก่จากชุมชน ได้ข้าวหลากสายพันธุ์ ได้พืชผักจากตลาดเช้าชุมชน ล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุดิบที่สุดยอดมากๆ เหล่านี้คือความพิเศษ เหล่านี้คือต้นทุน เหล่านี้ต่อยอดเศรษฐกิจได้ เราจึงมุ่งสร้างสรรค์ความพิเศษของพื้นถิ่น เพื่อให้เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
ประเด็นสำคัญที่ร่วมแบ่งปันในพาข้าว คืออยากรู้จักอีสานให้มองผ่านพาข้าว ความพิเศษของวัตถุดิบบนผืนดินอีสาน ที่มีคุณภาพสูงพิเศษ สามารถนำไปต่อยอดได้ในทุกสไตล์เมนู โดยในพาแลงมื้อดังกล่าว เฮือนคำนางได้แนะนำวัตถุดิบพื้นถิ่นคุณภาพสูงพร้อมปรุงวัตถุดิบต่างๆ ในเมนูดั้งเดิม และนำเสนอแนวทางเพื่อต่อยอดเมนูสู่สากล นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเรียนรู้ความพิเศษ และกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบพื้นถิ่นเพื่อต่อ ยอดเศรษฐกิจไทยในทุกๆ มิติ โดยภาครัฐและเอกชน ที่กำลังพัฒนาด้านการสร้างเกษตรมูลค่าสูงและการท่องเที่ยวคุณภาพสูงเพื่อให้ประเทศไทย เป็นหมุดหมายของนักชิมจากทั่วโลก หากท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าชมได้ที่ Fb เฮือนคำนาง
เมืองบัวการ์เด้นท์ ยังมีโปรสุดคุ้ม 1 ฟรี ฟรี ฟรี “ปั่นเรือเป็ด ชิล ๆ รอบสวน (เฉพาะลูกค้าที่จองที่พักและเข้าพักที่ เมืองบัวการ์เด้นท์ ในวันจันทร์-ศุกร์) โปรสุดคุ้ม 2 รับส่วนลดทันที 10% เครื่องดื่มทุกชนิด เมื่อ Like & แชร์เพจ เมืองบัวการ์เด้นท์ ทางสวน เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง และเราชนะ
พิกัด : ห่างจาก เมืองร้อยเอ็ด ประมาณ 55 กม. (50 นาที) ใช้ถนน ร้อยเอ็ด – อ.จตุรพักตรพิมาน – เกษตรวิสัย ที่ตั้งเลขที่ 247 ตำบล เมืองเมืองบัว อำเภอ เกษตรวิสัย ร้อยเอ็ด GPS : https://goo.gl/maps/ocmzoZagtWmcfo7G7
ติดต่อสอบถามเส้นทางและจองห้องพักและโต๊ะ โทร. 061 5550288, 043 030136, 0952465517 LINE ID: 247_247
#เมืองบัวการ์เด้นท์ #เมืองบัว #ร้อยเอ็ด #ร้านเด็ด #โฮมสเตย์ #ร้านกาแฟ #ไดโนเสาร์ #ห้องประชุมสัมมนา #งานเลี้ยง
ติดตามข่าวได้ที่ #แฟนข่าวกาฬสินธุ์ #ข่าวกาฬสินธุ์ #KSNews #Kalasinnews.com
ตระกูล ภูพวงเพชร /รายงาน
www.kalasinnews.com