กกต.กาฬสินธุ์ จัดระดมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 รูปแบบ ก่อนเสนอ กกต.กลางประกาศเขตเลือกตั้งจัดเจน
(10 ก.พ. 2566) ที่ห้องประชุมโสมพะมิตร ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน กรรมาธิการ รัฐสภา เป็นประธานในที่ประชุมเปิดรับฟังแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อเตรียมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ตัวแทนพรรคการเมือง ตัวแทนศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) เจ้าหน้าที่ กกต.กาฬสินธุ์ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 100 คน เข้าร่วมในที่ประชุม
ตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แหนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1 พุทธศักราช 2564) ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2566 เรื่อง การแบ่งเขต เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 จึงประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดกาพสินธุ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์
โดย แบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 3 รูปแบบ จากจำนวนราษฎรทั้งหมด 972,101 คน จำนวน 6 เขต ประกอบด้วย
แบบ ก. จำนวนประชากรผู้สิทธิเลือกตั้งเขตละประมาณ 162,000 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 คน ประกอบด้วย
เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาฬสินธุ์ จำนวนราษฎร 144,285 คน, อ.สมเด็จ (เฉพาะ ต.หนองแวง) จำนวนราษฎร 10,188 คน, อ.นามน (เฉพาะ ต.ยอดแกง) จำนวน 8,326 คน รวม 162,799 คน
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ยางตลาด จำนวนราษฎร 126,916 คน และ อ.ฆ้องชัย จำนวนราษฎร 26,542 คน รวม 153,458 คน
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.หนองกรุงศรี จำนวนราษฎร 65,257 คน, อ.ห้วยเม็ก จำนวนราษฎร 50,608 คน และ อ.ท่าคันโท จำนวนราษฎร 37,846 คน รวม 153,711 คน
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.สมเด็จ (ยกเว้น ต.หนองแวง) จำนวนราษฎร 51,552 คน. อ.สหัสขันธ์ จำนวนราษฎร 42,532 คน, อ.สามชัย จำนวนราษฎร 25,361 คน และ อ.คำม่วง จำนวนราษฎร 48,694 คน รวม 168,139
เขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ห้วยผึ้ง จำนวนราษฎร 30,116 คน, อ.นามน (ยกเว้น ต.ยอดแกง) จำนวนราษฎร 28,062 คน, อ.ดอนจาน จำนวนราษฎร 26,054 คน, อ.ร่องคำ จำนวนราษฎร 16,431 คน, และ อ.กมลาไสย จำนวนราษฎร 68,068 คน รวม 168,731 คน
เขตเลือกตั้งที่ 6 อ.กุฉินารายณ์ จำนวนราษฎร 100,753 คน, อ.เขาวง จำนวนราษฎร 33,652 คน. และอ.นาคู จำนวนราษฎร 30,858 คน รวม 165,263 คน
แบบ ข.
เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาฬสินธุ์ จำนวนราษฎร 144,285 คน, อ.สมเด็จ (เฉพาะ ต.หนองแวง) จำนวนราษฎร 10,188 คน, อ.นามน (เฉพาะ ต.ยอดแกง) จำนวน 8,326 คน รวม 162,799 คน
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ยางตลาด (ยกเว้น ต.เขาพระนอน และต.นาเชือก) จำนวนราษฎร 113,497 คน และ อ.ฆ้องชัย จำนวนราษฎร 26,542 คน, อ.กมลาไสย (เฉพาะ ต.หนองแปน และ ต.ธัญญา) จำนวนราษฎร 16,446 คน รวม 156,485 คน
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.หนองกรุงศรี จำนวนราษฎร 65,257 คน, อ.ห้วยเม็ก จำนวนราษฎร 50,608 คน และอ.ท่าคันโท จำนวนราษฎร 37,846 คน, อ.ยางตลาด (เฉพาะ ต.เขาพระนอน และ ต.นาเชือก จำนวนราษฎร 13,149 คน รวม 167,130 คน
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.สมเด็จ (ยกเว้น ต.หนองแวง) จำนวนราษฎร 51,552 คน. อ.สหัสขันธ์ จำนวนราษฎร 42,532 คน, อ.สามชัย จำนวนราษฎร 25,361 คน และ อ.คำม่วง จำนวนราษฎร 48,694 คน รวม 168,139
เขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ห้วยผึ้ง จำนวนราษฎร 30,116 คน, อ.นามน (ยกเว้น ต.ยอดแกง) จำนวนราษฎร 28,062 คน, อ.ดอนจาน จำนวนราษฎร 26,054 คน, อ.ร่องคำ จำนวนราษฎร 16,431 คน, และ อ.กมลาไสย (ยกเว้น ต.หนองแปน และ ต.ธัญญา จำนวนราษฎร 51,622 คน, อ.กุจินาราษณ์ (เฉพาะ ต.เหล่าใหญ่) 7,161 คน รวม 159,446 คน
เขตเลือกตั้งที่ 6 อ.กุฉินารายณ์ (ยกเว้น ต.เหล่าใหญ่) จำนวนราษฎร 93,592 คน, อ.เขาวง จำนวนราษฎร 33,652 คน. และอ.นาคู จำนวนราษฎร 30,858 คน รวม 158,102 คน
และแบบ ค.
เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาฬสินธุ์ จำนวนราษฎร 144,285 คน, อ.สมเด็จ (เฉพาะ ต.หนองแวง) จำนวนราษฎร 10,188 คน, อ.นามน (เฉพาะ ต.ยอดแกง) จำนวน 8,326 คน รวม 162,799 คน
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ยางตลาด (ยกเว้น ต.เว่อ และ ต.เขาพระนอน) จำนวนราษฎร 116,194 คน และ อ.ฆ้องชัย จำนวนราษฎร 26,542 คน, อ.กมลาไสย (เฉพาะ ต.เจ้าท่า และ ต.ธัญญา) จำนวนราษฎร 17,707 คน รวม 160,943 คน,
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.หนองกรุงศรี จำนวนราษฎร 65,257 คน, อ.ห้วยเม็ก จำนวนราษฎร 50,608 คน และอ.ท่าคันโท จำนวนราษฎร 37,846 คน, อ.ยางตลาด (เฉพาะ ต.เว่อ และ ต.เขาพระนอนจำนวนราษฎร 10,222 คน รวม 163,933 คน
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.สมเด็จ (ยกเว้น ต.หนองแวง) จำนวนราษฎร 51,552 คน. อ.สหัสขันธ์ จำนวนราษฎร 42,532 คน, อ.สามชัย จำนวนราษฎร 25,361 คน และ อ.คำม่วง จำนวนราษฎร 48,694 คน รวม 168,139
เขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ห้วยผึ้ง จำนวนราษฎร 30,116 คน, อ.นามน (ยกเว้น ต.ยอดแกง) จำนวนราษฎร 28,062 คน, อ.ดอนจาน จำนวนราษฎร 26,054 คน, อ.ร่องคำ จำนวนราษฎร 16,431 คน, และ อ.กมลาไสย (ยกเว้น ต.เจ้าท่า และ ต.ธัญญา จำนวนราษฎร 50,361 คน, อ.กุจินาราษณ์ (เฉพาะ ต.เหล่าใหญ่) 7,161 คน รวม 158,185 คน
เขตเลือกตั้งที่ 6 อ.กุฉินารายณ์ (ยกเว้น ต.เหล่าใหญ่) จำนวนราษฎร 93,592 คน, อ.เขาวง จำนวนราษฎร 33,652 คน. และอ.นาคู จำนวนราษฎร 30,858 คน รวม 158,102 คน
โดยในที่ประชุม ได้มีผู้เข้าร่วมประซึ่งเป็นว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่างๆ ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็น มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 6 เขต
ทั้งนี้ กกต.จะเปิดรับฟังและรับคำร้องความคิดเห็นสำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งไปจนถึงวันที่ 13 ก.พ. 2566 ซึ่งหลังจากนั้นจะได้นำเสนอต่อ กกต.กลางเพื่อประกาศเขตเลือกตั้งอย่างเป็นทางการต่อไป