วันที่ 7 ก.ค. 2567 ที่ห้องประชุมโรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ชาวบ้าน จำนวน กว่า 500 คน มีทั้งกลุ่มชาวบ้านที่เห็นด้วยและไม่เห็นเห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะในเขตพื้นที่ อ.กมลาไสย ร่วมเวทีการจัดประชุมสมาชิกสัมพันธ์และผู้สนับสนุนนโยบายพรรคทั่วประเทศ เสวนา “โรงไฟฟ้าขยะ” ทางออกในการจัดการขยะ หรือเพิ่มมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมีนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และทีมงานพรรคก้าวไกลจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนักวิชาการ ร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้น หลังจากที่มีชาวบ้านในชุมชนที่จะคาดว่าโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะ จะเกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนของเขาอย่างแน่นอน จึงได้ร้องเรียนไปยังกรรมาธิการคณะดังกล่าว เพราะเกิดความไม่ไว้วางใจในมาตรฐานของระบบการควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะส่งผลกระทบกับชุมชนกว่า 18 ชุมชนในรัศมี 3 กม.ของ อบต.กมลาไสย และเทศบาลตำบลธัญญา
ขณะที่ชาวบ้านกลุ่มที่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะ ต่างก็พากันออกมาชูป้ายเพื่อรณรงค์ต้องการให้มีโรงงานไฟฟ้าในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการขยะในพื้นที่ โดยมองว่าหากโครงการก่อสร้างโรงงานเป็นผลสำเร็จ จะทำให้การแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่มีความยั่งยืน ประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์ และสร้างความเจริญให้กับชุมชน เพราะเชื่อว่า ผู้ประกอบการโรงงานสามารถบริหารจัดการให้โรงงานกำจัดขยะได้อย่างมาตรฐาน และที่สำคัญโครงการก่อสร้างโรงงานขยะยังไม่เกิดก็อย่าตีตนไปก่อนไข้
ด้านนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปา ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เปิดเปิดว่า การแสงความคิดเห็นของชาวบ้านในครั้งนี้ ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นนับว่ามีประเด็ดที่มีความละเอียดอ่อน ความคิดเห็นของชาวบ้านในครั้งนี้นับว่ามีประโยชน์มาก โดยเฉพาะเรื่องของที่ตั้งโรงงานควรได้รับการศึกษาให้มีความชัดเจนเป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควรทำอย่างโปร่งใสจริงๆ ซึ่งจะได้นำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมาธิการเพื่อหาข้อสรุปในการนำเสนอต่อไป
โดยโรงงานจะได้จัดสร้างที่ตำบลกมลาไสย ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนี้ เทศบาลตำบลกมลาไสย ได้ขอความอนุเคราะห์มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษา จัดทำรายงานศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการฯ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด พบว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถก่อตั้งได้โดยไม่ขัดกับเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โรงงานมีระยะห่างจากศูนย์กำจัดขยะกมลาไสยในรัศมี 3 กิโลเมตร และจะได้มีการก่อสร้างโรงคัดแยกขยะมูลฝอย จำนวน 3 แห่ง คือศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยกมลาไสย ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยโนนบุรี และศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยกุฉินารายณ์ โดยจะไม่มีการนำขยะจากจังหวัดอื่นเข้ามา และจะมีการปรับปรุงและพัฒนาศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยทั้ง 3 แห่ง ให้มีระบบบำบัดอากาศ ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ และติดตั้งระบบบำบัดของเสียงและมลพิษที่ได้มาตรฐาน เป็นไปตามหลักสุขาภิบาลและมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และหลังจากกำจัดขยะทั้ง 3 แห่งในระยะ 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ ก็จะแปลงสภาพเป็นสวนสาธารณะชุมชน ที่มีทั้ง ลานปลูกหญ้า หญ้าธรรมชาติ ลู่วิ่งจักรยาน ลานกิจกรรม อาคาร RDF ที่จอดรถและถนน บ่อบำบัด ให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์ต่อไปด้วย
โรงงานผลิตไฟฟ้าจาก RDF ที่กำลังจะสร้างขึ้นนี้ มีกำลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ ตามระเบียบของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ถือเป็น VSPP หรือผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก จะใช้ RDF เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตไฟฟ้า โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและควบคุมกระบวนการ เพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้าที่เพียงพอและสะอาดในการใช้งาน โครงการนี้นอกจากจะเป็นการกำจัดมูลฝอยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนแล้ว ยังเป็นการสร้างงานใหม่และโอกาสในการพัฒนาท้องถิ่นอีกด้วย