• จันทร์. พ.ย. 18th, 2024

จ.กาฬสินธุ์ วิจัยพัฒนาผ้าไทยลายไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนสิส ได้สำเร็จ พร้อมส่งเสริมเป็นสินค้าท่องเที่ยว TPOT (Tourism Product of Thailand) ซอฟต์เพาเวอร์ Kalasin Geopark ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก

ด้วยจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่ภูน้อย ต.ดินจี่ อ.คำม่วง มีชื่อเรียกว่า Minimocursor Phunoiensis เป็นพันธุ์กินพืชขนาดเล็ก สูงประมาณ 1.5 เมตร เดินสองขา หน้าตาคล้ายนก แปลกใหม่ มีความสวยงาม น่ารัก แตกต่างจากภาพลักษณ์เดิมของไดโนเสาร์ทั่วโลกที่ส่วนใหญ่จะตัวใหญ่และดุร้าย เป็นไดโนเสาร์หนึ่งเดียวของไทยที่พบในยุคจูราสสิคตอนปลาย (Jurassic) มีอายุราว 150 ล้านปี เป็นยุคเดียวกับไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ของต่างประเทศ ทำให้จังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับสมญาทางธรณีวิทยาว่า “Jurassic Park Thailand” และเกิดแนวคิดการสร้างภาพยนตร์ซอฟต์เพาเวอร์เรื่อง Kalasin Jurassic World เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนสู่ระดับสากล

อีกทั้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีต้นทุนทางทรัพยากรธรณีที่มีคุณค่าอย่างมหาศาล ด้วยตำนานการนิมิตเห็นไดโนเสาร์ของ “หลวงปู่หา สุภโร” วัดสักกะวัน ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จนนำไปสู่การค้นพบหลุมฟอสซิลไดโนเสาร์ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และพัฒนาเป็นอุทยานสัตว์โลกล้านปี “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” ในเวลาต่อมา ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สิรินธรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนชุมชน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งด้าน การคมนาคม อาหาร การเกษตร ธรรมชาติ วัฒนธรรม สินค้าของฝากที่ระลึก รีสอร์ท โฮมสเตย์ แหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน อย่างเป็นระบบห่วงโซ่อุปทานมูลค่าสูง ประกอบกับ กาฬสินธุ์มีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ รอยไดโนเสาร์ ไม้กลายเป็นหิน ปลาเต่าฉลามโบราณ ครอบคลุมพื้นที่ 7 อำเภอ เป็นสถิติลำดับที่ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน ทำให้จังหวัดกาฬสินธุ์ กำหนดนโยบายขับเคลื่อนเป็นเมืองอุทยานธรณี หรือ Kalasin Geopark และยกระดับเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่สากล ส่งเสริมวิจัยพัฒนา “มินิโมเคอร์เซอร์” ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก เป็น Soft Power ของจังหวัดกาฬสินธุ์ในระดับสากล อาทิ การบรรจุแผนการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Kalasin Jurassic World ผ่ามิติทะลุโลกล้านปี ที่มีตำนานหลวงปู่หา สุภโร กับมหัศจรรย์การนิมิตเห็นไดโนเสาร์ เรื่องราวการค้นพบและความผูกพันของมนุษย์กับมินิโมเคอร์เซอร์ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก รวมถึงวัฒนธรรม ธรรมชาติ ของดีประจำจังหวัด เพื่อเชิญชวนชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวประเทศไทยที่กาฬสินธุ์ อีกทั้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน ได้วิจัยพัฒนาผ้าไทยลายไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนสิส จนประสบผลสำเร็จ สามารถนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อพื้นเมืองตัวแรกฯ ให้กับ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อการประชาสัมพันธ์ซอฟเพาเวอร์ของจังหวัดฯ และได้ทอผ้าพื้นเมืองลายมินิโมเคอร์เซอร์ต่อเนื่องเป็นผืนที่ 2 เป็นผลสำเร็จ ด้วยความภูมิใจของชาวกาฬสินธุ์ทุกคน โดยนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ หัวหน้าส่วนราชการ ทุกภาคส่วน, และ ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร่วมกันโชว์ผ้าพื้นเมืองลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ประวัติศาสตร์ผืนที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 พร้อมร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมให้เป็นสินค้าท่องเที่ยว TPOT (Tourism Product of Thailand) ซอฟต์เพาเวอร์ Kalasin Geopark ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก ต่อไป ขณะที่กลุ่มเกษตรกร “โครงการวิจัยผ้าไหมแพรวาลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก” กำลังดำเนินงานทอผ้าไหมแพรวาลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ “สีม่วง” ผืนแรก ประวัติศาสตร์ของกาฬสินธุ์ ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้

ล่าสุดผู้ว่าฯกาฬสินธุ์ ได้มอบเกียรติบัตรให้ “ผู้ออกแบบและผู้อำนวยการผลิต” ผ้าไหมลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก เพื่อขับเคลื่อนสินค้าท่องเที่ยว TPOT ซอฟต์พาวเวอร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก

วันที่ 29 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องโสมพะมิตร ศาลากลางชั้น 4 นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการเกษตร กาฬสินธุ์ตำนานเมืองไดโนเสาร์โลก เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวกาฬสินธุ์สู่สากล ด้วยการวิจัยพัฒนาผ้าไหมลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนสิส (Minimocursor Phunoiensis) ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก เป็นสินค้าท่องเที่ยว TPOT (Tourism Product of Thailand) ซอฟต์พาวเวอร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก จำนวน 2 ราย ได้แก่ 1. นายธีรุตม์ จันทรครุธ “ผู้ออกแบบผ้าไหมลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์” และ 2. ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ “ผู้อำนวยการผลิตผ้าไหมลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์” สินค้าท่องเที่ยว TPOT ซอฟต์พาวเวอร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก ในการประชุมคณะกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งที่ 1 /2567

ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ขับเคลื่อนการวิจัยผ้าไหมแพรวาลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ เพื่อส่งเสริมให้เป็นสินค้าท่องเที่ยว TPOT หรือ Tourism Product of Thailand และยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ Soft Power มูลค่าสูง ตามแนวทางการขับเคลื่อน Geopark ปี 2567 บัดนี้การวิจัยพัฒนาผ้าไหมแพรวา ลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ ได้สำเร็จแล้ว จึงขอขอบพระคุณ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ได้มอบเกียรติบัตรเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ ผู้ออกแบบ และผู้อำนวยการผลิต ไว้เป็นเกียรติประวัติเชิดชูความดีฯ ในครั้งนี้เป็นอย่างสูง

ท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดเรื่อง ผ้าไทย ผ้าไหมลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์จังหวัดกาฬสินธุ์ สินค้าท่องเที่ยว TPOT ซอฟต์เพาเวอร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก ที่ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด โทรศัพท์ 043-816759 ในวันเวลาราชการ

ตระกูล ภูพวงเพชร /รายงาน

เรื่องที่คุณห้ามพลาด!