• จันทร์. พ.ย. 25th, 2024

กาฬสินธุ์ วิจัยพัฒนาความเป็นไปได้การทำชาจากใบกัญชงกัญชาเป็นสินค้าท่องเที่ยว TPOT

ทีมวิจัยพัฒนาความเป็นไปได้การทำชาจากใบกัญชงกัญชาเป็นสินค้าท่องเที่ยว TPOT จังหวัดกาฬสินธุ์ (Tourism Product of Thailand) ก่อนการนำไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ

สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ โดย ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานฯ พร้อมด้วย น.ส.พิมพ์ณดา โชติธนพนธ์ปภัส นักวิชาการเกษตรชำนาญการ น.ส.ชญาณภัศร สินธุศิริ และนายรณไชย ชัยศิริ พนักงานสำนักงานฯ ให้การต้อนรับ คณะนักวิจัยจาก อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Khonkaen University Science Park) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาสินค้าจากใบกัญชงกัญชา ให้เป็นสินค้าท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ หรือสินค้า TPOT (Tourism Product of Thailand) ตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อสนับสนุนการสร้างศักยภาพบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม วิเคราะห์โจทย์และหาทางแก้ไขในเบื้องต้น โดยศึกษาและประเมินความเป็นไปได้ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในระดับเบื้องต้น ก่อนการร่วมวิจัย ไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ และเตรียมความพร้อมเพื่อยื่นข้อเสนอโครงการในขนาดที่ใหญ่ขึ้น

ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ผลการประชุมหารือโจทย์ความเป็นไปได้ร่วมกันฯ พบโจทย์การวิจัยว่า จะสามารถนำใบกัญชงกัญชาไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ “ชา” ให้เป็นสินค้าท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ หรือ สินค้า TPOT (Tourism Product of Thailand) ได้หรือไม่ อย่างไร ? โดยออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) สวยงาม เป็นของฝากที่ระลึกจากจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ โดยมีสตอรี่ เป็นกัญชงกัญชาสายพันธุ์ไดโนเสาร์ ที่เป็น Signature จังหวัดกาฬสินธุ์ มีกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกรีนฟาร์มเมอร์กาฬสินธุ์ จำนวน 7 กลุ่มในพื้นที่อำเภอ สหัสขันธ์ หนองกุงศรี ห้วยผึ้ง กุฉินารายณ์ นามน ยางตลาด และ สามชัย เป็นผู้ผลิต ซึ่งคณะนักวิจัย จะได้เสนอโจทย์ดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการวิจัย Science Park มหาวิทยาลัยขอนแก่น พิจารณาจัดทำเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยฯเพื่อพัฒนาต่อไป สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงขอขอบคุณคณะวิจัย และโครงการ Pre-Talent Mobility ไว้ ณ โอกาสนี้

ตระกูล ภูพวงเพชร /รายงาน
www.kalasinnews.com