วันที่ 7 ธันวาคม 2566 จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ มี ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ น.ส.พิมพ์ณดา โชติธนพนธ์ปภัส นักวิชาการเกษตรชำนาญการ น.ส.ชญาณภัศ สินธุศิริ และนายรณไชย ชัยศิริ พนักงานสำนักงานฯ ติดตามความคืบหน้าการทอผ้าไทยและผ้าไหมลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ สินค้าท่องเที่ยวซอฟต์เพาเวอร์จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับ กลุ่มทอผ้าศูนย์เรียนรู้แก้จนคนพอเพียง บ้านสิงห์สะอาด ม.6 ต.สหัสขันธ์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ โดยมี นางหวัน พรมวงษ์ ประธานกลุ่มฯ พร้อม นางรอน แวดอุดม และนางสมบัติ ศิริรักษ์ สมาชิกกลุ่มฯ ร่วมประชุมหารือฯ พบว่ามีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าจะสามารถทอผ้าไทยพื้นเมืองลายไดโนเสาร์ พร้อมตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าไทยลายไดโนเสาร์ตัวแรกได้สำเร็จทันเทศกาลปีใหม่ 2567 ถือเป็นเสื้อผ้าไทยลายไดโนเสาร์ตัวแรกของไทย และหนึ่งเดียวของโลก
เพื่อมอบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประชาสัมพันธ์เป็นสินค้าท่องเที่ยว TPOT Geopark ซอฟต์เพาเวอร์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการเกษตร กาฬสินธุ์ตำนานเมืองไดโนเสาร์โลกต่อไป สำหรับผ้าไหมลายไดเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ ไดโรเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก สัญลักษณ์จังหวัดกาฬสินธุ์นั้น กลุ่มทอผ้ากำลังเร่งแกะลายที่ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์มอบให้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2567 ก่อนนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์ สินค้าท่องเที่ยว ซอฟต์เพาเวอร์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และเป็นครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้แก่เกษตรกรต่อไป
#ผ้าไหมลายไดโนเสาร์มินิโมเคอร์เซอร์
#สินค้าท่องเที่ยวซอฟต์เพาเวอร์กาฬสินธุ์ #ครั้งแรกของไทย หนึ่งเดียวของโลก