วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลบัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ โดย ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานฯ นายสมศักดิ์ ผาลาโห หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ นายแก่นจันทร์ ภูสีเขียว สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำอำเภอยางตลาด พร้อมด้วย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ โดย นายฉัตรชัย คงสมของ นักวิชาการพาณิชย์ ชำนาญการ นายวรากร พิมพ์มะสอน นักวิชาการพาณิชย์ ปฏิบัติการ น.ส.นุชจารี วรรณทอง นักวิชาการพาณิชย์ ปฏิบัติการ ประชุมร่วมกับ คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลบัวบาน โดย นายวิโรจน์ โยธาสิงห์ ประธานกลุ่มฯ นายวีรชาติ ภูโปร่ง เลขานุการกลุ่มฯ นายทองเปอร์ ภูนาชัย ที่ปรึกษากลุ่ม พร้อมคณะกรรมการกลุ่มฯ เพื่อเสวนาสืบค้นประวัติการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม รวบรวมเป็นข้อมูลวิชาการ อัตลักษณ์กุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์ เตรียมเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จังหวัดกาฬสินธุ์
ดร.นิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า เกษตรกรตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด เป็นกลุ่มแรกที่ริเริ่มเปลี่ยนพื้นที่ทำนาเป็น บ่อเลี้ยงกุ้ง ราวปี 2514ได้รับการสนับสนุนและออกแบบการขุดบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามครั้งแรกจาก หน่วยงานเร่งรัดพัฒนาชนบท(รพช.) สมัยก่อน และเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นในปี 2532 เมื่อเห็นว่ามีรายได้มากกว่าการทำนาปี นาปรัง และรายได้ดีกว่าการปลูกมะเขือเทศทำเมล็ดส่งบริษัทฯที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการใช้สารเคมี ทำให้ นายทองเปอร์ ภูนาชัย บ้านตูม ม.4 ต.บัวบาน เป็นเกษตรกรคนแรกที่มีแรงบันดาลใจเปลี่ยนจากการทำนามาเลี้ยงกุ้ง ด้วยเหตุทำนาขายข้าวหักค่าใช้จ่ายแล้ว มีกำไรเพียง 25 บาท เห็นว่าการทำนาขาดทุน จึงตัดสินใจเปลี่ยนที่นา 2 ไร่ เป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง
โดยนำพันธุ์กุ้งก้ามกราม มาจาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี พร้อมวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องมาทดลองเลี้ยงครั้งแรก จำนาน 100,000 ตัวๆละ 2 สตางค์ เงิน 2,000 บาท พื้นที่ 1 บ่อ 2 ไร่ ใช้เวลาเลี้ยง 4-5 เดือน ขายได้กำไรสูงถึง 40,000 บาท มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก สามารถส่งลูกไปเรียนหนังสือในเมืองได้ ทำให้เกษตรกรในหมู่บ้านเห็นเป็นตัวอย่าง และอยากทำตาม จนทำให้มีแนวคิดส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งแบบครบวงจร ตั้งแต่ขายพันธุ์ อาหารกุ้ง และให้คำแนะนำการเลี้ยงฯอย่างเป็นระบบ ต่อมาในปี 2538-40 เกษตรกรตำบลบัวบานได้ขยายพื้นที่เพิ่ม และเพิ่มจำนวนผู้เลี้ยงกุ้งมากขึ้น และเริ่มรวมกลุ่มกันโดยมีนายไล ภูโปร่ง เป็นประธานกลุ่มฯคนแรก ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลบัวบาน เมื่อปี 2549 มีสมาชิกเริ่มต้น 60 ราย ปัจจุบันเพิ่มเป็น 67 ราย จำนวน 200 บ่อ พื้นที่ 370 ไร่ ในห้วงเวลาเดียวกันนี้ มีเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงในเขตชลประทาน เปลี่ยนพื้นที่ทำนาเป็น บ่อเลี้ยงกุ้ง ได้แก่ ต.เขาพะนอน ต.นาเชือก อ.ยางตลาด ต.ลำคลอง ต.ลำพาน อ.เมือง และ ต.หัวหิน อ.ห้วยเม็ก สำหรับอัตลักษณ์ที่ทำให้ “กุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์” แตกต่างจากที่อื่น ทั้งด้านการการผลิต คือ 1.บ่อเลี้ยงกุ้งเป็นดินร่วนปนทรายแตกต่างจากภาคกลางที่เป็นดินเลน 2.แหล่งน้ำเพียงพอจากเขื่อนลำปาว 3.มีความสะอาดของต้นน้ำ 4.เป็นแหล่งผลิตกุ้งก้ามกรามใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน 5.ผลิตด้วยระบบเกษตรปลอดภัย(GAP) 6.ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนการผลิต จึงทำให้กุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคเนื่องจาก “กุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์” มีอัตลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากที่อื่นดังนี้คือ 1.เปลือกบาง 2.ก้ามอ้วนสั้น 3.เนื้อเยอะ 4.เนื้อแน่น 5.เนื้อมีรสชาติหวาน 6.มีเนื้อที่คอและหัวกุ้ง 7.แข็งแรง ทนต่อการจับขังและเคลื่อนย้าย ไม่ตายง่าย ปัจจุบันขนาดที่ผลิตคือ 25-30 ตัว/กก. ราคาหน้าบ่อ 250 บาท เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก
ซึ่งข้อมูลประวัติการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจัง
หวัดกาฬสินธุ์ตลอด 50 ปีดังกล่าวนี้ จะนำไปเรียบเรียงเป็นเอกสารประกอบการขอขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูทศาสตร์(GI)จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2566 ต่อไป ดร.นิรุจน์กล่าว และเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมได้กำหนดพื้นที่เลี้ยงกุ้งก้ามกราม GI ครอบคลุม 3 อำเภอ 6 ตำบล ได้แก่ อ.ยางตลาด (ต.บัวบาน, นาเชือก, เขาพะนอน) อ.เมือง (ต.ลำคลอง, ต.ลำพาน) และ อ.ห้วยเม็ก (ต.หัวหิน)
สอบถามรายละเอียด GI กุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์ เพิ่มเติมที่ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด โทรศัพท์ 043-816759 ในวันเวลาราชการ
#GI กุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์ #OKAY KALASIN #SMART GREEN CITY