หลายคนคงเคยได้ยินชื่อของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตกันบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักโรคนี้กันมากขึ้น ตั้งแต่สาเหตุ ไปจนถึงความแตกต่างของอัมพฤกษ์และอัมพาตว่าแตกต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลย
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตคือโรคอะไร
เป็นอาการของโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเกิดจากเซลล์สมองขาดเลือด ตีบ หรืออุดตัน เป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดแดงสมองอุดตัน หรือว่าหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง
ใครเสี่ยงบ้าง
เมื่อรู้สาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาต แล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า ใครที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้กัน ไปดูกันเลย
- ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง
- ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ
- ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน
อาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
สำหรับอาการของโรคที่พบบ่อย ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ใบหน้าเบี้ยว ไม่สามารถขยับตัวได้ ซึ่งอาการของโรคมีตั้งแต่อาการน้อย ๆ ไปจนถึงอาการที่รุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเซลล์สมองถูกทำลายไปแล้วหรือยัง ซึ่งหากว่าเซลล์สมองยังไม่ถูกทำลาย อาจจะมีอาการแค่เคลื่อนไหวช้า พูดไม่ชัด แต่หากว่าสมองถูกทำลายบางส่วน อาจจะทำให้มีอาการตามัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่หากว่าเซลล์สมองถูกทำลายถาวร อาจจะทำให้แขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถขยับได้ และมีการตอบสนองช้า
อัมพฤกษ์และอัมพาตต่างกันอย่างไร
อัมพฤกษ์และอัมพาต แม้ว่าจะมีสาเหตุของโรคที่เหมือนกัน แต่ก็เป็นคนละโรคกัน ซึ่งทั้งสองโรคมีความแตกต่างกัน คือ โรคอัมพฤกษ์ เป็นโรคที่แขนขาอ่อนแรงบางส่วน หรือชาตามมือตามขา หรืออวัยวะอื่น ๆ บางครั้ง หรือบางส่วน ส่วนโรคอัมพาตจะไม่สามารถขยับร่างกายได้เลย เรียกว่าแขนขาไม่มีแรง ใช้งานไม่ได้นั่นเอง
ป้องกันอย่างไร
เราสามารถป้องกันความเสี่ยงของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้เช่นกัน ด้วยการไม่สูบบุหรี่ และดื่มสุรา ออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ไม่กินอาหารรสจัด อย่างหวานจัดหรือว่าเค็มจัด ที่สำคัญคือ ควรตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อดูมีความเสี่ยงหรือไม่นั่นเอง
การดูแลตัวอย่างให้มีสุขภาพดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ หากว่าไม่มั่นใจ หรือว่ามีความเสี่ยง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังอาการอย่างต่อเนื่อง