วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์ กวาดเหรียญทองสิ่งประดิษฐ์ในเวที “นวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน” มากที่สุดในระดับจังหวัด เตรียมสุดยอดผลงานร่วมแสดงในงานโคก หนอง นา พารวย มินิเกษตรแฟร์ ณ วนเกษตรบ้านโฮม อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ในวันที่ 26 พ.ค. 2565 ที่จะถึงนี้ จำนวน 3 ผลงาน
วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์ ยกระดับการศึกษาด้านอาชีวศึกษา เปลี่ยนชื่อจากเดิมวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ เพื่อเพิ่มมาตรฐานการศึกษายุคใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการของกำลังคนด้านอาชีวะของประเทศไทย ล่าสุดสร้างชื่อเสียงในเวทีการประเมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ “นวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน” ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยเทคนิคเขาวง อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ได้รางวัลระดับเหรียญทอง จำนวน 5 ประเภท รางวัลเหรีญเงิน 5 ประเภท และรางวัลเหรียญทองแดง 3 ประเภท มากที่สุดในระดับจังหวัด จากที่มีสถานศึกษาเข้าร่วมแข่งขัน 6 สถานศึกษา ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์, วิทยาลัยเทคนิคเขาวง (เจ้าภาพ), วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์, วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง, วิทยาลัยการอาชีพหนองกุงศรี และวิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง
1. รางวัลเหรียญทอง “การพัฒนาเครื่องสูบน้ำพลังงานทดแทนจากถ่าน” ชนะเลิศ
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร
หัวหน้าทีมโครงการวิจัย
นายภัทรพงษ์ พลซา นักศึกษาสาขาวิชาช่างกลโรงงาน
นักวิจัยรุ่นใหม่/คณะผู้ร่วมวิจัย
นายกรวิชญ์ ทองรุ่ง ปวส.2 ช่างกลโรงงาน
นายอลงกรณ์ ทรัพย์นาค ปวส.1 ช่างกลโรงงาน
นายเฉลิมยศ ทองม้วน ปวส.1 ช่างกลโรงงาน
นายดลณภพ สาธุพันธ์ ปวส.1 ช่างกลโรงงาน
คณะผู้ร่วมวิจัย/ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
ว่าที่ร้อยเอกจารยุทธ ปาละสานต์ ครู ช่างกลโรงงาน
นางสาวเจนจิรา ผ่านสำแดง ครู ช่างกลโรงงาน
นางฌาณิศา เมฆตรง ครู ภาษาอังกฤษ
นางสาวเจนจิรา ยุพลา นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ช่างกลโรงงาน
นางสาวรัชนีกร บุราณวัตร นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ช่างกลโรงงาน
ประเภทการวิจัย
– การวิจัยและพัฒนา (research and development)
คำสำคัญ (keywords) ของการวิจัย
1. เครื่องสูบน้ำ หมายถึงอุปกรณ์สำหรับส่งน้ำหรือถ่ายเทของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือหมุนเวียนน้ำหรือของเหลวให้ผสมกันในบริเวณที่จำกัด
2. พลังงานทดแทน หมายถึงพลังงานที่ผลิตขึ้นใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนที่ใช้แล้วหมดไปหรือพลังงานสิ้นเปลืองความสำคัญและที่มาของ
ปัญหาที่ทำการวิจัย
ประเทศส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การใช้น้ำบาดาลหรือน้ำจากบ่อน้ำขนาดเล็ก เป็นปัจจัยสำคัญในการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปั๊มไฟฟ้า หรือเครื่องสูบน้ำเครื่องยนต์เล็กในการสูบน้ำขึ้นจากบ่อ ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้งข้อจํากัดในเรื่องของสายส่งไฟฟ้า ทำให้บริเวณพื้นที่การเกษตรซึ่งห่างไกล จากสายส่งไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อสร้างมูลค่าของเศษไม้ที่ไม่ใช้แล้วให้เกิดคุณค่าขอบเขตของการวิจัย
3. เพื่อเป็นการเพิ่มพลังงานทางเลือกให้กับเกษตรกร และผู้ที่สนใจ
ทฤษฎี สมมุติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของการวิจัยหรือแบบร่าง
1. ทฤษฎี เครื่องสูบน้ำพลังงานทดแทนจากถ่านที่สร้างขึ้นผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 3.50 (ระดับคุณภาพดี) จากเกณฑ์การประเมิน 5 ระดับ
2. สมมติฐานการวิจัย
7.2.1 สามารถลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกรได้
7.2.2 สามารถเพิ่มมูลค่าของเศษไม้ได้
7.2.3 เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับเกษตรกรได้
กรอบแนวคิดของการวิจัย
1. ตัวแปรอิสระ คือ เนื่องจากน้ำมันเบนซินมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัว ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ใช้เครื่องสูบน้ำ
2. ตัวแปรตาม คือ 1. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อสร้างมูลค่าของเศษไม้ที่ไม่ใช้แล้วให้เกิดคุณค่า 3. เพื่อเป็นการเพิ่มพลังงานทางเลือกให้กับเกษตรกร และผู้ที่สนใจ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information) ที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับเครื่องปั๊มน้ำ
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงดัน
3. ทฤษฎีการเผาไหม้
4. หลักการเกี่ยวกับชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารอ้างอิงของการวิจัย
1. พิชัย นามประกาย และกิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์ เรื่อง หมุนเวียนน้ำร้อนที่มีเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
2. จิรวัฒน์ สิตรานนท์ พัฒนาเครื่องสูบน้ำด้วยกําลังไอน้ำสำหรับการผลิตน้ำร้อน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้เครื่องสูบน้ำพลังงานทดแทนจากถ่าน
2. ได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกรและสามารถเพิ่มมูลค่าของเศษไม้ได้
3. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนจากถ่านสามารถนำมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่เกษตรกรได้
แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มอาชีพเกษตรกร ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในการนำไปประยุกต์
วิธีการดำเนินการวิจัยและสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล
1. ประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือในการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การสรุปผล
ระยะเวลาทำการวิจัยและแผนการดำเนินงานตลอดการวิจัย
1 ตุลาคม 2564 – 15 มกราคม 2565
ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย (ถ้ามี)
เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความจำเป็นต้องใช้น้ำจากบ่อบาดาลหรือสระน้ำจากธรรมชาติ
งบประมาณของการวิจัย
งบประมาณทั้งหมด 10,000 บาท
ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของโครงการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถนำไปใช้กับกลุ่มเกษตรกรได้
2. ประหยัดพลังงานในการใช้งาน
2. รางวัลเหรียญทอง “ตู้รับพัสดุอัจฉริยะ” ชนะเลิศ
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์และระบบสมองกลฝังตัว
หัวหน้าทีมโครงการวิจัย
นายอนุรักษ์ ผลเลขา นักศึกษาสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
นักวิจัยรุ่นใหม่/คณะผู้ร่วมวิจัย
นายเฉลิมศิลป์ ทองม้วน ปวส. 1 อิเล็กทรอนิกส์
คณะผู้ร่วมวิจัย/ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
นายธีรพล ประทิน ครู สาขาอิเล็กทรอนิกส์
นายอธิเจตน์ ทิวะสิงห์ ครูเชี่ยวชาญ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
นายศิลป์ชัย บุตรเพ็ง ครู สาขาอิเล็กทรอนิกส์
นายธนวัฒน์ พุ่มแก้ว ครู สาขาอิเล็กทรอนิกส์
ประเภทการวิจัย
การวิจัยและพัฒนา (research and development)
คำสำคัญ (keywords) ของการวิจัย
1. ESP8266 เป็นชื่อเรียกของชิฟของโมดูล ESP8266 สำหรับติดต่อสื่อสารบนมาตรฐาน WIFI ทำงานที่แรงดันไฟฟ้า 3.0-3.6V ทำงานใช้กระแสโดยเฉลี่ย 80mA รองรับคำสั่ง deep sleep ในการประหยัดพลังงาน ใช้กระแสน้อยกว่า 10 ไมโครแอมป์ สามารถ wake up กลับมาส่งข้อมูลใช้เวลาน้อยกกว่า 2 มิลลิวินาที ภายในมี Low power MCU 32bit ทำให้เราเขียนโปรแกรมสั่งงานได้ มีวงจร analog digital converter ทำให้สามารถอ่านค่าจาก analog ได้ความละเอียด 10bit ทำงานได้ที่อุณหภูมิ -40 ถึง 125 องศาเซลเซียส
2. รีเลย์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ตัด-ต่อวงจร โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้าและการที่จะให้มันทำงานก็ต้องจ่ายไฟให้มันตามที่กำหนด เพราะเมื่อจ่ายไฟให้กับตัวรีเลย์ มันจะทำให้หน้าสัมผัสติดกัน กลายเป็นวงจรปิด และตรงข้ามทันทีที่ไม่ได้จ่ายไฟให้มัน มันก็จะกลายเป็นวงจรเปิด ไฟที่เราใช้ป้อนให้กับตัวรีเลย์ก็จะเป็นไฟที่มาจาก เพาเวอร์ฯ ของเครื่องเรา ดังนั้นทันทีที่เปิดเครื่อง ก็จะทำให้รีเลย์ทำงาน
ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
สถานการณ์ปัจจุบัน วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “COVID-19” ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างประเมินค่าไม่ได้ ด้วยผู้ที่ติดเชื้อทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 1 แสนคน โดยแต่ละประเทศก็ออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและช่วยเหลือประชาชนของตัวเอง สำหรับประเทศไทยก็เช่นเดียวกันรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อให้ประชาชนอยู่บ้าน ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งแน่นอนว่ามีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป้าหมายต้องการหยุดและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว สำหรับวิธีการฆ่าเชื้อไวรัสโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือใช้แอลกอฮอล์ 70% อาจมีประสิทธิภาพแต่อาจยุ่งยากและไม่ทั่วถึง อีกทั้งอาจมีต้นทุนสูงในการใช้งานระยะยาวสำหรับประชาชนทั่วไป
ดังนั้น ทางคณะผู้วิจัย ได้เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นและเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและบุคคล โดยทางผู้วิจัยมีความพร้อมในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อบริการนวัตกรรมในการช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและเพื่อสุขภาพที่ดีพร้อมความสบายใจของชาวชุมชนในการรับพัสดุที่มาส่งยังหน้าบ้าน ซึ่งมีพัสดุมาส่งของอยู่เป็นประจำทุกวัน โดยทำการฆ่าเชื้อพัสดุที่มาส่งก่อนถึงมือผู้รับ กล่าวคือ เมื่อพนักงานมาส่งพัสดุให้ทำการเปิดตู้ใส่พัสดุในตู้รับและเมื่อปิดตู้รับ ภายในตู้รับก็จะทำงานและทำการฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวีซี ตามเวลาที่เราต้องการจะทำการฆ่าเชื้อ และจะมีพ่นแอลกอฮอล์เพื่อทำการฆ่าเชื้อ ก่อนที่จะนำพัสดุดังกล่าวออกมาเปิดหรือสัมผัสเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับพัสดุ ทั้งนี้ตัวตู้จะออกแบบให้แสดงสถานการณ์ทำงานด้วยหลอด LED ตามช่วงเวลาทำงานเพื่อให้ทราบถึงสถานะของตู้รับพัสดุและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มากับพัสดุ
2. เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการรับพัสดุ
3. เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันโดยใช้หลักของนวัตกรรมเข้ามาช่วย
ขอบเขตของการวิจัย
1. ใช้บอร์ดอาดูโน่ ESP8266
2. ตู้รับพัสดุขนาด กว้าง 50 ซม. สูง 100 ซม.
3. ปั๊มน้ำ ขนาด 5 โวลล์
ทฤษฎี สมมุติฐาน
ตู้รับพัสดุอัจฉริยะสามารถเปิด-ปิดตู้รับพัสดุ สามารถเปิดไฟเพื่อฆ่าเชื้อและพ่นแอลกอฮอล์ โดยสั่งการทำงานผ่านโทรศัพท์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเท (information) ที่เกี่ยวข้อง
1. บอร์ดอาดูโน่ ESP8266
2. เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ
3. รีเลย์
เอกสารอ้างอิงของการวิจัย
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) (2550). ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)จำกัด.
กิดานันท์ มลิทอง เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
https://home.kku.ac.th/tawiset/pr_content.php?prid=2017
https://www.thaieasyelec.com/product/458/mini-pump-motor-5v
http://www.arduino-makerzone.com/article/26/arduino-sensor-example-ep2 hc-sr04
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสำหรับพัสดุ
2. เพื่อป้องกันโรคต่างๆที่ปนเปื้อนมากับพัสดุ
3. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย
1. มีแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มนักเรียนนักศึกษา
2. มีแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่ผู้ชมชน
วิธีการดำเนินการวิจัยและสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล
1. ประชุมปรึกษาหารือ การสร้างตู้รับพัสดุอัจฉริยะ
2. ออกแบบสร้างตู้รับพัสดุอัจฉริยะ
3. วิธีดำเนินการทดลอง
4. เก็บรวบรวมข้อมูล ณ แผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์
5. สรุปรายงานผลการวิจัย
ระยะเวลาทำการวิจัยและแผนการดำเนินงานตลอดการวิจัย
ตุลาคม ปี 2564 ถึง มกราคม ปี 2565
งบประมาณของการวิจัย
งบประมาณทั้งหมด 5,000 บาท
ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของโครงการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรคสำหรับการรับพัสดุ
2. เพื่อความสะดวกสบาย
3. รางวัลเหรียญทอง “โรงเรือนเพาะปลูกระบบ EVAP ควบคุมด้วยเทคโนโลยี IOT”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์และระบบสมองกลฝังตัว
4. รางวัลเหรียญทอง “สมาร์ทฟาร์มเพาะจิ้งหรีด”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์และระบบสมองกลฝังตัว
5. รางวัลเหรียญทอง “เครื่องสับหญ้าเอนกประสงค์ 2 ทางเลือก”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร
6. รางวัลเหรียญเงิน “เครื่องตัดใบข้าวด้วยพลังงานไฟฟ้า”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ
7. รางวัลเหรียญเงิน “รถไถมินิเพื่อการเกษตร”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ
8. รางวัลเหรียญเงิน “ตู้อบแห้งควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ
9. รางวัลเหรียญเงิน “เครื่องทำสุญญากาศจากมอเตอร์คอมเพรสเซอร์”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ
10. รางวัลเหรียญเงิน “การพัฒนาเครื่องชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงระบบดิจิตอลพร้อมหาค่าดัชนี”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะชน
11. รางวัลเหรียญทองแดง “เครื่องปอกเปลือกฟักหอม (white gourd peeling machine)”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ
12. รางวัลเหรียญทองแดง “เครื่องถอนมันสำปะหลัง (cassava pulling harvester)
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ
13. รางวัลเหรียญทองแดง “Dino Robot หุ่นยนต์ทางการแพทย์”
ประเภทสิ่งประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะชน
นายอธิเจตน์ ทิวะสิงห์ หัวหน้างานวิจัยฯ วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในวันที่ 26 พ.ค. 2565 นี้ วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์ จะร่วมส่งผลงาน 3 ชิ้นงาน เข้าแสดงในงานโคก หนอง นา พารวย ณ วนเกษตรบ้านโฮม ประกอบด้วย “สมาร์ทฟาร์มเพาะจิ้งหรีด” ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญทองในเวทีการประเมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ “นวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน” ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปีการศึกษา 2564 และ เครื่องคั่วกาแฟ กับ เครื่องแยกเมล็ดพันธุ์ 3 ทางเลือก เข้าแสดงในงานวันดังกล่าวด้วย
แล้วพบกันในงาน มินิเกษตรแฟร์ 26 พ.คนี้ เปิดตลาด “โคก หนอง นา พารวย “จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์และ สินค้า OTOP สอบถามโทร. 093-373-8354 จัดที่ #บ้านโฮมสวนอาหารแอนด์รีสอร์ท #โคกหนองนาพารวย #เกษตรอินทรีย์ #มินิเกษตรแฟร์
สนใจเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์ ทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือหลักสูตรวิชาชีพเฉพาะทาง (ระยะสั้น) สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.kpc.ac.th
ตระกูล ภูพวงเพชร /รายงาน
www.kalasinnews.com