วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ จัดโครงการ ประเมินผลรายวิชาโครงการ ของนักเรียนนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ณ อาคารโดมเอนกประสงค์ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ โดยมีนายประดิษฐ์ ญาณประเสริฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมคณะผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมโครงการอย่างพร้อมเพรียง
นายชนะ สีพะนามน้อย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า จากนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ต้องการให้ครู และ นักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษา มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ โดยอาศัยการจัดการเรียนการสอนเป็นชิ้นงาน เป็นโครงการอันจะทำให้เกิดการ พัฒนาทางวิชาการอย่างไม่หยุดนิ่งนั้น งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ ได้ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงจัดงานโครงการ ประเมินผลรายวิชาโครงการ และประกวดจัด นิทรรศการโครงการของนักเรียน นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลรายวิชาโครงการของนักเรียน นักศึกษา และเพื่อจัดประกวดแข่งขันโครงการของ นักเรียน นักศึกษา อีกทั้งนําเสนอผลงาน และเผยแพร่ผลงานโครงการ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม งานวิจัยของนักเรียน นักศึกษาให้แก่ผู้สนใจทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
นายชนะ สีพะนามน้อย กล่าวอีกว่า การจัดงานในครั้งนี้มีโครงการ ที่ส่งผลงานเข้าร่วม รวมทั้งสิ้น 295 โครงการ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับ ปวช. ประเภทพาณิชยกรรม การโรงแรมและคหกรรม จำนวน 63 โครงการ ประเภทช่างอุตสาหกรรม จำนวน 74 โครงการ ระดับ ปวส. ประเภท บริหารธุรกิจ การโรงแรมและคหกรรม จำนวน 72 โครงการ และประเภทช่างอุตสาหกรรม จำนวน 86 โครงการ โดยการจัดงานครั้งนี้ใช้งบประมาณสนับสนุนจากทางวิทยาลัยฯ จำนวนเงินทั้งหมด 10,000 บาท ใช้ระยะเวลาในจัดงาน 1 วัน คือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ด้านนายประดิษฐ์ ญาณประเสริฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอน ในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นนั้น มีการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเรียนใน สาขาวิชาชีพเพื่อนําไปประกอบในอนาคตให้มีคุณภาพ และการจัดผู้เรียนให้เรียนในรายวิชา โครงการนั้น จะต้องเรียนไม่น้อยกว่า 160 ชั่วโมง คิดเป็นจำนวน 4 หน่วยกิต ส่งผลให้นักเรียน นักศึกษา เกิดความตระหนัก และมีความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนางานในสาขาวิชาชีพของตน สามารถปฏิบัติการวาแผนทำรายงาน นําเสนองาน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน อีกทั้งตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีคุณธรรม จริยธรรมในงานอาชีพนั้นด้วย
“จากการเห็นความสำคัญของหลักสูตรดังกล่าว ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อตัวนักเรียน นักศึกษา และครูผู้สอนด้วย จากปัจจัยหลายอย่างเหล่านี้ ทำให้เกิดการบูรณาการการเรียนการ สอน อย่างชัดเจน นักเรียน นักศึกษาสามารถนําไปใช้ได้ในวิชาชีพของตนเอง ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ เป็นกําลังที่สำคัญของชาติในอนาคตต่อไป” ผอ.ประดิษฐ์กล่าวเสริมท้าย
ตระกูล ภูพวงเพชร /รายงาน
www.kalasinnews.com