ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ณ สิ้นปี 2564 ประเทศไทย มีหนี้สินครัวเรือนมูลค่ารวมกันกว่า 14.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 90.1% ของ GDP ทั้งประเทศ
1. ปทุมธานี
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 370,531 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 155.0%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน 57.5%
2. สุรินทร์
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 347,321 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 76.9%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้จ่ายในครัวเรือน 55.0%
3. มหาสารคาม
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 343,780 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 105.0%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน 36.8%
4. สระบุรี
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 335,292 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 135.3%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้จ่ายในครัวเรือน 57.6%
5. นนทบุรี
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 330,810 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 27.8%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน 66.2%
6. กระบี่
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 318,191 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 79.3%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้จ่ายในครัวเรือน 43.0%
7. พิจิตร
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 316,859 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 96.8%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้ทำการเกษตร 38.6%
8. เพชรบูรณ์
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 309,180 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 236.3%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้ทำการเกษตร 47.8%
จังหวัดกาฬสินธุ์
- หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ปี 2564 191,828 บาท
- เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 (134,002 บาท) 69.9%
- ภาระหนี้มากที่สุด ใช้จ่ายในครัวเรือน 49.8% (95,590.1 บาท)
จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในระหว่างปี 2543-2554 ครัวเรือนมีระดับรายได้ และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่มีรายได้เฉลี่ย 12,150 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ในปี 2543 เพิ่มเป็น 23,236 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ในปี 2554 ซึ่งหมายถึงอำนาจการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของครัวเรือนสูงตามไปด้วยจากที่มีค่าใช้จ่าย ในการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 9,848 บาทต่อเดือน ในปี 2543 เพิ่มเป็น 17,403 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ในปี 2554
แต่อย่างไรก็ดีนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดการค้าเสรี การปล่อยสินเชื่อให้แก่ครัวเรือน และการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่งผลให้ภาคครัวเรือนประสบกับปัญหาหนี้สินที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากที่มีปริมาณหนี้สินเฉลี่ย 68,405 บาทต่อครัวเรือนในปี 2543 เพิ่มเป็น 134,900 บาทต่อครัวเรือนในปี 2554 และเมื่อพิจารณาหนี้สินเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้ พบว่าในปี 2554 ครัวเรือนที่มีหนี้สินมีหนี้สินเฉลี่ย 241,760 บาทต่อครัวเรือน โดยกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร มีหนี้สินเฉลี่ยมากกว่า 400,000 บาท และมากกว่าร้อยละ 40.0 ของหนี้สิน นำไปซื้อ/เช่าซื้อบ้าน และที่ดิน ในขณะที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่วนใหญ่มีหนี้สินไม่เกิน 200,000 บาท และมากกว่าร้อยละ 40 นำไปใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ส่วนครัวเรือนในภาคเหนือมีหนี้สินเฉลี่ยไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนใหญ่นำไปใช้เพื่อการเกษตรและทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้ เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ โดยพิจารณาจากสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้ พบว่า ครัวเรือนมีแนวโน้มว่าสามารถชำระหนี้ได้ไม่แตกต่างกันมากนักใน แต่ละปี ในขณะที่หนี้สินเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
จากปัญหาหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ นี้ ถึงแม้จะเป็นปัญหาระดับครัวเรือน แต่ในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กล่าวคือ หากครัวเรือนสะสมหนี้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงแล้ว ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนก็จะลดลง ส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพต่ำลง เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ผลที่ตามมาคือ ความเครียด ปัญหาครอบครัว เกิดอาชญากรรมการฆ่าตัวตาย ฯลฯ แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือนให้ตรงจุดนั้น ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหา และมีความเปราะบางต่อปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น กลุ่มครัวเรือนยากจน เกษตรกร เป็นต้น เพราะหนี้สินส่วนใหญ่ต้องนำมาใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อที่อยู่อาศัยและใช้จ่ายในครัวเรือน ทั้งนี้ รัฐควรดำเนินงานอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง โดยต้องให้ความรู้ด้านการเงิน ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพเสริมที่ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้สินรุงรังในอนาคต สำหรับปัญหาหนี้สินของครัวเรือนที่กู้มาเพื่อการบริโภคนั้น สมาชิกในครัวเรือนเองต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างวินัยทางการเงิน โดยการทำบัญชีรายรับ -รายจ่าย ทั้งนี้เพื่อลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย
ขอบคุณข้อมูลจาก การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม